ผู้แต่ง |
เกศรา เซี่ยงหวอง |
ชื่อเรื่อง |
1111 |
ชื่อเรื่องที่แตกต่าง |
The Participatory Process of Building Awareness towards The Cultural Landscape Values : A Case Study of Bann Muang Pon ,Mae Hong Son Province |
เลขเรียก |
307.762 ก773ก |
หมายเหตุ |
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม) ) -- สถาบันอาศรมศิลป์ , 2559. |
หมายเหตุ |
Summary: ชุมชนบ้านเมืองปอนเป็นชุมชนชาวไทใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคุณค่าทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม ได้ส่งผลต่อโครงสร้างทางสังคมพื้นฐานในการ ดำรงอยู่ของชุมชนของชุมชนในปัจจุบัน ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ จึงเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษากระบวนการสร้างการตระหนักรู้คุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรม อย่างมีส่วนร่วม 2. ประเมินผลการตระหนักรู้ ฯ ที่เกิดขึ้น และ 3. วิเคราะห์เหตุ ปัจจัยในการเกิดการตระหนักรู้ ฯ การดำเนินกระบวนการครั้งนี้ ได้ประกอบไปด้วยการดำเนินงานและผลการตระหนักรู้ ฯ ที่เกิดขึ้นในระยะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1.ระยะการศึกษาความต้องการชุมชนผ่านความสนใจในการอนุรักษ์คุณค่าทางวัฒนธรรมของชุมชนในเบื้องต้น ซึ่งได้ทำให้เกิดการรับรู้ถึงการเห็นคุณค่าของ องค์ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมโดยเฉพาะในด้านกิจกรรมงานประเพณี อันเนื่องมาจากความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และความต้องการร่วมของชุมชนในเรื่องการสืบสานทางวัฒนธรรมของเยาวชน ผ่านความต้องการแผนที่ทางวัฒนธรรม 2. ระยะการสร้างความเข้าใจในการดำเนิน งาน ผ่านการทำแผนที่ทางวัฒนธรรมร่วมกัน ซึ่งได้ทำให้เกิดความเข้าใจในความสัมพันธ์ขององค์ ประกอบภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับสภาพแวดล้อม และความต้องการทางสังคมที่เกี่ยวข้องในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงในอนุรักษ์ รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานอนุรักษ์ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 3. ระยะการเรียนรู้ในการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม ผ่านการทำแผนที่กลุ่มย่อยภูมิปัญญาการทำจองพารา ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงคุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรมและความต้องการทางสังคม มาสู่กระบวนการเรียนรู้ในการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความต้องการของชุมชนในการขยายผลแนวคิดในเรื่องการอนุรักษ์มาสู่การเป็นผู้ดำเนินงานในชุมชน 4. ระยะการดำเนิน งานโดยชุมชน ผ่านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำจองพารา ซึ่งเป็นการดำเนินงานและสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการทางสังคม และได้นำมาสู่ความต้องการพัฒนาการดำเนินงานอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ที่สอดคล้องกับโครงสร้างทางสังคมพื้นฐานในชุมชน จากผลการดำเนินกระบวนการดังกล่าวจึงได้นำมาสู่การวิเคราะห์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตระหนักรู้ ฯ ในครั้งนี้ ได้แก่ 1. พื้นฐานการเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมของคนในชุมชน 2.การเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมของคนภายนอก และ 3. กระบวนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตในชุมชน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้เกิดการเรียนรู้จากการดำเนินงานทั้งในเชิงทฤษฎีซึ่งเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์คุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรม และการเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติซึ่งประกอบไปด้วยทักษะในด้าน ต่าง ๆ ได้แก่ การสร้างความคุ้นเคย การทำงานร่วมกับชุมชน การสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้อาวุโส และการดำเนินวงพูดคุย รวมทั้งทัศนคติในการดำเนินงาน ได้แก่ การวางใจในการดำเนินกระบวนการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ความมั่นใจในการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน การเปิดใจเรียนรู้ในมุมมองการดำเนินงานของบุคคลที่สาม และความเชื่อมั่นในการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะในการ ดำเนินกระบวนการในครั้งนี้ ทั้งในด้านบทบาทการเป็นผู้ประสานงาน ประเด็นในการดำเนินงาน เป้าหมายในการดำเนินงาน และการดำเนินงานด้วยกระบวนการเรียนรู้ เพื่อการอนุรักษ์คุณค่าภูมิทัศน์วัฒนธรรมในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไปในอนาคต |
หัวเรื่อง |
ชุมชนบ้านเมืองปอน |
หัวเรื่อง |
ั--วิทยานิพนธ์--สถาปัตยกรรมศาสตร์ |
หัวเรื่อง |
การตระหนักรู้ |
หัวเรื่อง |
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม |
ผู้แต่งร่วม |
า รศ.เรือเอก ชูวิทย์ สุจฉายา อาจารย์ที่ปรึกษา |